^^ ยินดีต้อนรับท่านผู้ชมทุกท่านค่ะ ^^

วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3 


วันอังคารที่ 27 เดือนมกราคม พ.ศ.2558



   ความรู้ที่ได้รับในวันนี้   

หลักการจัดกิจกรรม และประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย





ความสำคัญ


                                   - ศิลปะ เป็นพื้นฐานทางการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย 
                                     เพราะศิลปะช่วยให้เด็กปฐมวัยมีประสบการณ์ที่หลากหลาย 

จุดมุ่งหมายของการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย 

                              - การสอนศิลปะเด็กไม่ใช่การสอนให้เด็กวาดรูปเก่ง 
                              - การสอนศิลปะเด็ก เป็นการปลูกฝังนิสัยอันดีงาม ละเอียดอ่อน 
                                 และให้มีความพร้อมสำหรับการศึกษาในขั้นสูงขึ้นต่อไป 

การสอนศิลปะเด็กจึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อ 

1. ฝึกทักษะการใช้มือ และเตรียมความพร้อม ผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 
2.  ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ + ความสามารถของเด็กแต่ละคน 
3. พัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และบุคลิกภาพ 
4. ปลูกฝังค่านิยม เจตคติ และคุณสมบัติที่ดีของศิลปะ และวัฒนธรรมไทย 
5. ฝึกให้เด็กได้เริ่มต้นเรียนรู้ การใช้เครื่องมือในการทำงานศิลปะ ตลอดจนการเก็บรักษา
    และการทำความสะอาดอย่างถูกต้อง 
6. ฝึกการทำงานร่วมกันเป็นทีม 
7. เปิดโอกาสให้เด็กแสดงออกอย่างอิสระ 
8. นำประสบการณ์ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน 

บทบาทของครูศิลปะ 

- สร้างบรรยากาศ (ในการแระดิษฐ์ คิดค้น และผลิตผลงาน)
- ส่งเสริมสนับสนุน (พูดคุย ชักจูง เร้าความสนใจ ให้กำลังใจ)
- ดูแลเด็กให้สร้างสรรค์งาน (ให้ความรัก ความอบอุ่น และคอยให้คำแนะนำ)
- เป็นต้นแบบที่ดี (สาธิตวิธีการที่ถูกต้อง ไม่เผด็จการ ส่งเสริมความกล้าคิด กล้าตัดสินใจ)
- อำนวยความสะดวก  (จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ รูปแบบศิลปะที่หลากกลาย)

เทคนิควิธีสอนศิลปะเด็กปฐมวัย

การสอนศิลปะเด็กให้ดีและประสบผลสำเร็จ
   - เข้าถึง >> ดูแลเอาใจใส่ ใกล้ชิดเด็กแต่ละคนอย่างเท่าเทียม
   - เข้าใจ >> ความสามารถ ความแตกต่างระหว่างบคคล
   - ให้ความรัก รัก และเข้าใจ สนับสนุน และพัฒนา ช่วยเหลือ
   - สร้างสรรค์บรรยากาศ หลากหลาย สนุก อิสระ 
   - มีระเบียบวินัย มีข้อตกลงร่วมกัน และปลูกฝังเรื่องระเบียบวนัยในการทำงาน
   - ปลอดภัย คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก 

การสอนให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 

- เปิดโอกาสให้เด็กกล้าแสดงออกอย่างเสรี มีอิสระในการสร้างสรรค์งาน 
- ฝึกหัดให้เกิดการเรียนรู้  ทดลองด้วยตนเอง ลองผิดลองถูก 
- เรียนรู้ผ่านการวางแผน และการแก้ไขปัญหา
- ส่งเสริมการแสดงออกอย่างหลากหลายรูปแบบ 
- เน้นการเรียนปนเล่น
- สนับสนุน/เน้นเรื่องคุณค่าความงามความดี


กิจกรรม วาดภาพต่อเติม และระบายสีให้สวยงาม 




วันพฤหัสที่ 29 เดือนมกราคม พ.ศ.2558



วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดภารกิจ จึงได้มอบหมายงานให้นักศึกษา 2 ชิ้น 

^^ ผลงาน ^^








วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2


วันอังคารที่ 20 เดือนมกราคม พ.ศ.2558


   ความรู้ที่ได้รับ   

วันนี้ อาจารย์สอนจากเอกสารประกอบการเรียน

เรื่อง ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย ^^

              ศิลปะ หมายถึง งานช่างฝีมือ เป็นงานที่มนุษย์ใช้สติปัญญาสร้างสรรค์ขึ้นด้วย
ความปราณีต วิจิตรบรรจง ฉะนั้นงานศิลปะจึงไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เป็น
ผลงานที่มนุษย์ใช้ปัญญา ความศรัทธา และความพากเพียร พยายามสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ 


จิตรกรรม ของเด็ก >>  การวาดภาพ




ประติมากรรม >> การปั้น




สถาปัตยกรรม >> การต่อตัวต่อ



^^ ตัวอย่างงานศิลปะ ^^ 



ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ


- ทฤษฎีของโอตา (Auta)
  เดวิส และซัลลิแวน > ความคิดสร้างสรรค์นั้นมีอยู่ในมนุษย์ทุกคน และสามารถพัฒนา
                              ให้สูงขึ้นได้ การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ตามรูปแบบโอตา 
                               มีลำดับการพัฒนาการ 4 ขั้นตอน ดังนี้

                          1. การตระหนัก              3. เทคนิควิธี
                          2. ความเข้าใจ               4. การตระหนักในความจริงของสิ่งต่างๆ 


พัฒนาการทางศิลปะ

เคลล็อก (Kellogg) ศึกษางานขีดๆเขียนๆ ของเด็กปฐมวัย  
ได้จำแนกออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ 

1. ขั้นขีดเขี่ย (Placement stage)
    >> เด็กวัย 2 ขวบ
         -  ขีดๆเขียนๆตามธรรมชาติ 
         - ขีดเขี่ยเป็นเส้นตรงบ้าง โค้งบ้าง
         - ขีดโดยปราศจากการควบคุม 

2. ขั้นเขียนเป็นรูปร่าง (Shape stage)
   >> เด็กวัย 3 ขวบ
        - การขีดๆเขียนๆเริ่มเป็นรูปร่างขึ้น
        - เขียนวงกลมได้
        - ควบคุมมือกับตา ให้สัมพันธ์กันมากขึ้น 

3. ขั้นรู้จักออกแบบ (Design stage)    
    >> เด็กวัย 4 ขวบ 
        - ขีดๆเขียนๆที่เป็นรูปร่างเข้าด้วยกัน 
        - วาดโครงสร้าง หรือเค้าโครงได้ 
        - วาดสี่เหลี่ยมได้ 

4. ขั้นการวาดแสดงเป็นภาพ (Pictorial stage)
    >> เด็กวัย 5ขวบขึ้นไป 
        - เริ่มแยกแยะวัตถุ ที่เหมือนกับมาตรฐานของผู้ใหญ่ได้
        - รับรู้ความเป็นจริง เขียนภาพแสดงถึงภาพคน/สัตว์ได้
        - ควบคุมการขีดเขียนได้ดี
        - วาดสามเหลี่ยมได้ 


พัฒนาการด้านร่างกาย 


กีเซลล์ และคอร์บิน สรุปพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัยตามลักษณะพฤติกรรม

ทางการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ และกล้ามเนื้อเล็ก ดังนี้ 


>> การตัด 
      - อายุ 3-4 ปี ตัดกระดาษเป็นชิ้นส่วนได้
      - อายุ 4-5 ปี ตัดกระดาษเป็นเส้นโค้งได้ 
      - อายุ 5-6 ปี ตัดกระดาษตามเส้นโค้ง หรือรูปร่างต่างๆได้ 

>> การขีดเขียน 
      - อายุ 3-4 ปี เขียนรูปวงกลมตามแบบได้
      - อายุ 4-5 ปี เขียนรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสตามแบบได้ 
      - อายุ 5-6 ปี เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้ 

>> การพับ
      - อายุ 3-4 ปี พับ และรีดสันกระดาษสองทบตามแบบได้
      - อายุ 4-5 ปี พับ และรีดสันกระดาษสามทบตามแบบได้
      - อายุ 5-6 ปี พับ และรีดสันกระดาษได้คล่องแคล่วหลายแบบ

>> การวาด
      - อายุ 3-4 ปี วาดภาพคนมีศีรษะ ตา ขา ปาก
      - อายุ 4-5 ปี วาดภาพคนมีศีรษะ ตา ขา ปาก ลำตัว เท้า
      - อายุ 5-6 ปี วาดภาพคนมีศีรษะ ตา ขา ปากลำตัว เท้า จมูก แขน มือ คอ ผม 



การบ้าน


>> ให้นักศึกษาเขียนพัฒนาการทางศิลปะของเด็กปฐมวัย 

^^  ผลงานค่ะ  ^^






วันพฤหัสบดีที่ 22 เดือน มกราคม พ.ศ.2558

   กิจกรรม มือสร้างสรรค์ (หน่วยร่างกาย)   



กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมศิลปะส่วนตัว หรือศิลปะรายบุคคล
ฝึกให้เด็กได้ใช้สีที่หลากหลายในการระบายสี ไม่ใช้สีซ้ำซาก หรือใช้สีเพียงสีใดสีหนึ่ง


  ผลงานมือของฉัน รูปดวงดาวหลายดวง  (STARS)   




วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1


วันอังคารที่ 13 เดือนมกราคม พ.ศ.2558


    กิจกรรม : วาดภาพระบายสี     

>> ให้นักศึกษาวาดภาพตนเองตามจินตนาการ







การประเมิน
1. สังเกตกระบวนการในการวาดภาพ
2. สังเกตชิ้นงาน ในส่วนของรายละเอียดต่างๆ

** ไม่ตัดสินที่ความสวยงาม เพราะเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ **

การติดผลงาน      >> ติดจาดซ้ายไปขวา และจากบนลงล่าง
                               >> ครูควรสอนให้เด็กติดผลงานด้วยตนเอง

วิธีติดที่เหมาะสม  >> ติดทั้ง 4 มุม ของกระดาษ, หนีบ, แขวน, ใส่ซอง

            - ขณะที่เด็กทำกิจกรรม ครูควรสังเกตกระบวนการ การทำงานของเด็ก และครูควรมีการ-
สนทนา ซักถาม แต่ห้ามไปชี้นำ หรือสั่งการเด็ก เพราะจะเป็นการปิดกั้นความคิด 
และจินตนาการของเด็ก

            -   เมื่อเด็กนำผลงานมาส่ง ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กได้เล่าเรื่องจากภาพ 
เพื่อให้เด็กเกิดพัฒนาการทางภาษา
            -  ห้ามเปรียบเทียบผลงานของเด็ก
            -  ครูต้องให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการเรียน


^^ กิจกรรมท้ายคาบ ^^

ให้นักศึกษาจับกลุ่ม และเขียนในเรื่องของศิลปะสร้างสรรค์ ตามหัวข้อดังนี้

         - ความหมายของศิลปะ
         - ความสำคัญของศิลปะต่อเด็กปฐมวัย
         - บทบาทของครูศิลปะ
         - คุณลักษณะของครูศิลปะ
         - สื่อที่ใช้ในการสอนศิลปะ
         - ตัวอย่างกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย
         - สิ่งที่คาดว่าจะได้รับในรายวิชานี้ 







วันพฤหัสบดีที่ 15 เดือน มกราคม พ.ศ.2558

^^ กิจกรรมในวันนี้ ^^

อาจารย์ เปิดวีดีโอ เกี่ยวกับครูท่านหนึ่งที่สอนวิชาศิลปะสร้างสรรค์
ซึ่งครูได้ให้เด็กๆ วาดภาพสัตว์ตามจินตนาการ

เชิญชม วีดีโอ นะคะ^^




          จากวีดีโอนี้ จะเห็นได้ว่า ครูมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการสอนศิลปะสร้างารรค์
เป็นอย่างมาก เนื่องจาก   1. ไม่สนใจเด็กขณะทำกิจกรรม
                                        2. การประเมิน ดูจากความสวยงาม
                                        3. พูดจาทางลบ ทำให้เด็กเกิดความทุกข์
                                        4. ประจานเด็ก

^^ นำเสนอผลงานที่ทำในคาบเรียนที่ผ่านมา ^^





ตัวอย่าง >> บูรณาการกิจกรรมศิลปะ และคณิตศาสตร์ ^^

การนำตัวเลขมาใช้ในกิจกรรมศิลปะ